สาวเอ็นดู เห็นแมวปีนต้นไม้ พีคที่แท้น้องอ้วนเกิน พุงติดโดดลงเองไม่ได้ วอนนุดช่วยหน่อย

สาวผ่านริมถนน เจอแมวอยู่บนต้นไม้สูง ที่แท้อ้วนจนตัวติดร่องออกไม่ได้ งานนี้ต้องรอแรงชาวบ้านใช้ไม้ดันให้น้องได้ขยับโดดลง ล่าสุดกลับบ้านหาเจ้าของแล้ว

เห็นแมวปีนต้นไม้

เชื่อว่าหลายคนที่เลี้ยงแมว หรือ ทาสแมว อาจจะเคยได้เสียเหงื่อกับความซุกซนของน้อง บางตัวเมื่อเผลอเป็นต้องหนีออกจากบ้าน จนเจ้าของต้องวุ่นออกไปหาด้วยความกังวลใจ แต่บางครั้งแมวอาจจะไปอยู่ในจุดที่ไม่คาดคิดก็เป็นได้

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Saichon Fang ลงคลิปแมวอ้วนตัวหนึ่งปีนไปนอนบนต้นไม้ แต่ที่แปลก ๆ คือเจ้าเมียวอยู่นิ่ง ๆ ตรงจุดนั้นอยู่นานสักพักแล้ว จึงชัดเจนว่าคงไม่ใช่ภาพที่มันกำลังนั่งชิล แต่ที่จริงคือน้องกำลังอยู่ในอาการสิ้นหวัง เนื่องจากพยายามยังไงก็ออกมาไม่ได้เนื่องจากติดพุงอยู่ตรงระหว่างง่ามไม้นั่นเอง

เจ้าของโพสต์ลงคลิประบุแคปชั่นว่า “งานเช้า วันนี้บังเอิญตื่นเช้าจะไปตลาด มาเจอแมวติดบนต้นไม้ มันออกไม่ได้ !!! ฉันก็ขึ้นไปไม่ได้ สูงฉิบหาย จะช่วยยังไง ช่วยคิดที” ซึ่งหลังคลิปนี้ถูกโพสต์ไปได้กลายเป็นไวรัลจนมีการแชร์กว่า 1 พันครั้ง

ต่อมา เจ้าของโพสต์ยังอัปเดตปฏิบัติการช่วยน้องแมว ด้วยการไปขอความช่วยเหลือจากชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงให้เข้ามาช่วย แต่ด้วยต้นไม้สูงมาก ปีนไปก็ยังไม่สามารถไปอุ้มแมวได้ คุณลุงที่ช่วยจึงใช้ไม้ดันตัวแมวจนมันหลุดและกระโดดออกมาได้ในท้ายที่สุด

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก มดตานอย ตืด ตืด โพสต์ภาพเจ้าแมวตัวดังกล่าว หรือเจ้า ดาซี่ ปัจจุบันน้องได้กลับมาที่ห้องแล้ว โดยจุดที่ไปติดต้นไม้ก็ไม่ได้ไกลจากห้องเท่าไหร่ ส่วนน้ำหนักของน้องก็เบา ๆ แค่ 5 กิโลกรัม เพียงเท่านั้น

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : งานวิจัยจากอ็อกซ์ฟอร์ดชี้ปลาทองมีความทรงจำดี

งานวิจัยจากอ็อกซ์ฟอร์ดชี้ปลาทองมีความทรงจำดี

งานวิจัยล่าสุด ของทีมนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ พบหลักฐานบ่งชี้ว่า ปลาทองมีความทรงจำที่ดี และรู้ตำแหน่งและทิศทางของสภาพแวดล้อมรอบตัว

ปลาทอง

ทีมนักวิทยาศาสตร์ศึกษาเรื่องนี้โดยฝึกฝนปลาทอง 9 ตัวให้ว่ายน้ำระยะทาง 70 ซม. แล้วว่ายกลับ โดยจะได้รับอาหารเป็นรางวัลในตอนท้าย และพบว่า ปลาเหล่านี้สามารถคาดคะเนระยะทางได้อย่างแม่นยำ

ผลการศึกษาที่ได้นับเป็นการหักล้างความเชื่อที่มีมายาวนานว่า ปลาทองเป็นสัตว์ที่มีความจำสั้นหรือแทบไม่มีความทรงจำเลย

ในแอนิเมชันเรื่อง Finding Nemo ตัวละครที่ชื่อดอรี (ขวา) ถูกนำเสนอว่าเป็นปลาที่มีความทรงจำแสนสั้น

เทียบสัตว์บก

ทีมนักวิจัยจากคณะชีววิทยามหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดต้องการค้นหาว่าปลามีวิธีการระบุตำแหน่งและการนำทางแบบเดียวสัตว์บกหรือไม่

พวกเขาจึงทดลองเรื่องนี้โดยปล่อยปลาเข้าตู้ที่มีการตีเส้นลายขวางระยะห่างกัน 2 ซม.

จากนั้นเมื่อปลาทองว่ายไปถึงระยะทางที่กำหนดไว้ นักวิจัยก็จะส่งสัญญาณ เช่น การโบกมือ เพื่อให้ปลาว่ายกลับไปยังจุดเริ่มต้น

จากนั้น นักวิจัยได้ทดสอบว่าปลาจะสามารถว่ายน้ำในระยะห่างเท่าเดิมได้หรือไม่ หากจุดเริ่มต้นเปลี่ยนไป และไม่มีการส่งสัญญาณให้ว่ายกลับ

นอกจากนี้ พวกเขายังทดสอบว่าปลาทองจะว่ายในระยะทางเท่าเดิมหรือไม่เมื่อภาพพื้นหลังเปลี่ยนแปลงไป

ผลปรากฏว่า ปลาทอง 8 ใน 9 ตัวสามารถจดจำได้อย่างแม่นยำว่าจะต้องว่ายกลับเมื่อใด เพื่อที่จะได้รับอาหารเป็นรางวัลตอบแทน โดยที่ไม่ต้องมีการส่งสัญญาณจากนักวิจัย

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ปลาทอง 8 ใน 9 ตัวสามารถจดจำได้อย่างแม่นยำว่าจะต้องว่ายกลับเมื่อใด โดยที่ไม่ต้องมีการส่งสัญญาณจากนักวิจัย

นอกจากนี้ ปลาทองยังสามารถว่ายน้ำในระยะทางที่ถูกต้อง แม้จุดเริ่มออกว่ายจะถูกขยับออกไปด้านหน้าก็ตาม

นักวิจัยระบุว่า ผลการทดลองที่ได้บ่งชี้ว่า ปลาทองสามารถคาดคะเนระยะทางจากการดูรูปแบบการเคลื่อนที่ปรากฏ (apparent motion) ของสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เรียกว่า “ออปติก โฟล” (optic flow)

พวกเขาระบุว่า สัตว์บกหลายชนิดก็ใช้การมองลักษณะนี้เพื่อคาดคะเนระยะทาง แต่ดูเหมือนว่าปลาทองจะประมวลข้อมูลแตกต่างออกไป

สัตว์บก เช่น มนุษย์ และผึ้ง จะคาดคะเนระยะทางด้วยการวัดว่ามุมระหว่างตาของตนกับวัตถุรอบข้างนั้นเปลี่ยนแปลงไปเท่าใดในขณะที่ตนเคลื่อนที่ นักวิจัยระบุว่า ดูเหมือนปลาทองจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เห็นในระหว่างการว่ายน้ำไปข้างหน้า